แบบทดสอบ บทที่1

ข้อสอบ บทที่1

คำถาม : อ่านข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามข้อ 1 – 6
     พระราชวัง หมายถึง วังของพระมหากษัตริย์ มีระดับความสำคัญรองจากพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ตามขัตติยราชประเพณีมาแต่โบราณ การเรียกวังว่าพระราชวังได้นั้น พระมหากษัตริย์จะทรงประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาวังขึ้นเป็น พระราชวัง จึงจะจัดเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ได้ เช่น พระราชวังดุสิต เมื่อแรกสร้างพระราชทานชื่อว่า สวนดุสิต ต่อมาจึงประกาศยกขึ้นเป็นพระราชวังสวนดุสิต ส่วนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต เรียกว่า พระตำหนักจิตรลดารโหฐานสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตไม่เรียกว่า พระราชวังจิตรลดา ราษฎรทั่วไปมักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า สวนจิตรลดา
จากมูลสถานแห่งราชวงศ์ โดย รัตนา ฦๅชาฤทธิ์ ในหนังสือชุด ความรู้ภาษาไทย อันดับที่ 33
เรื่อง ภาษาไทยวันนี้ เล่ม 7 ของสถาบันภาษาไทยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
1.สาระสำคัญของข้อความนี้ตรงกับข้อใด
ก. ประวัติพระราชวังดุสิต
ข. ข้อกำหนดการเป็นพระราชวัง
ค. พระราชวังในสมัยรัชกาลที่ 6
ง. การสร้างพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

2.แผนภาพโครงเรื่องแบบใดที่เหมาะสมในการเขียนเรื่องข้างต้น
ก. แสดงสาเหตุ
ข. แสดงเหตุการณ์
ค. แสดงการแก้ปัญหา
ง. แสดงการเปรียบเทียบ

3. หากข้อความนี้เป็นการพูด จัดเป็นการพูดประเภทใด
ก. เล่าเรื่อง
ข. วิจารณ์
ค. อธิบาย
ง. อภิปราย

4.ข้อใดเป็นคำราชาศัพท์ที่ใช้ได้เฉพาะพระมหากษัตริย์
ก.ประทับ
ข. ทรงประกาศ
ค. พระราชทาน
ง.พระบรมราชโองการ

5. ข้อใดเรียงคำตามพจนานุกรมได้ถูกต้อง
  1. ประทับ
  2. ประกาศ
  3. ประเพณี
  4. ปัจจุบัน
ก.1  3  4  2
ข. 2  1  3  4
ค. 3  4  2  1
ง. 4  3  1  2

6. ข้อความข้างต้น ให้ความรู้ด้านใดมากที่สุด
ก.  ประเพณี
ข. ค่านิยม
ค. วิถีชีวิต
ง. สถาปัตยกรรม

7.: อ่านข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามข้อ 7 – 12
กำเนิดมัจฉานุ
     เนื่องนางสุพรรณมัจฉาได้รับคำสั่งจากทศกัณฐ์ผู้เป็นบิดาให้พาบริวารปลาไป ทำลายการจองถนนที่จะไปลงกาของเหล่าวานร นางถูกหนุมานจับตัวไว้ได้ หนุมานสามารถเกลี้ยกล่อมนางให้เรียกบริวารปลาขนก้อนหินกลับคืนมาจนถนนสำเร็จ และได้นางเป็นภรรยา
     นางสุพรรณมัจฉาไม่กล้ากลับไปพบทศกัณฐ์ เพราะนอกจากไม่อาจทำตามคำสั่งได้แล้วยังมีส่วนช่วยสร้างถนนสายนี้อีก และที่สำคัญคือนางตั้งครรภ์ นางจึงตัดสินใจหาชายหาดที่สงบเงียบแห่งหนึ่ง แล้วอธิษฐานต่อบรรดาเทพยดานางฟ้าให้ช่วยนาง ดังบทกลอนต่อไปนี้
     เมื่อนั้น
เห็นเทวาแลเทพนารี
จึ่งน้อมเศียรเกล้าบังคม
ครั้นได้ศุภฤกษ์สถาวร
ขาวผ่องบริสุทธิ์ผิวพรรณ
ใหญ่ถึงชันษาโสฬส
     เมื่อนั้น
เห็นนางสำรอกลูกมา
จึ่งอำนวยนามตามวงศ์
เอาชื่อบิดาชัยชาญ
ทั้งสองนั้นเป็นสมญา
เสร็จแล้วฝูงเทพนิกร นางสุพรรณมัจฉาโฉมศรี
มาพร้อมที่ฝั่งสาคร
ด้วยใจชื่นชมสโมสร
บังอรสำรอกโอรส
กายนั้นเหมือนหนุมานหมด
หางนั้นปรากฏเป็นหางปลา
เทวัญอัปสรถ้วนหน้า
ลักขณาเหมือนศรีหนุมาน
อันทรงศักดากล้าหาญ
กับนางนงคราญมารดร
ชื่อมัจฉานุชาญสมร
ก็เขจรไปวิมานรูจี
เรียบเรียงจากบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน เกิดมัจฉานุ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

คำประพันธ์ข้างต้นไม่ได้กล่าวถึงมัจฉานุในเรื่องใด
ก. ผู้ให้กำเนิด
ข. ที่มาของชื่อ
ค. รูปร่างลักษณะ
ง. ความสามารถพิเศษ

8. ข้อใดใช้ภาษาถูกต้องตามหลักของการย่อความ
ก.: นางสุพรรณมัจฉาน้อมเศียรเกล้าบังคมเทวดา
ข. นางสุพรรณมัจฉาสำรอกโอรสที่มีผิวขาวบริสุทธิ์
ค. มัจฉานุมีร่างกายเหมือนหนุมาน
ง. มัจฉานุมีหางเป็นมัจฉาเหมือนแม่

9. ข้อมูลจากเรื่องข้างต้นนำไปใช้ประกอบการพูดประเภทใดได้เหมาะสมที่สุด
ก. อภิปราย
ข. โต้วาที
ค. เล่านิทาน
ง. โน้มน้าวใจ

10. ข้อใดเป็น “คำเป็น” ทุกคำ
ก. เห็นเทวาแลเทพนารี
ข. อันทรงศักดากล้าหาญ
ค. จึ่งน้อมเศียรเกล้าบังคม
ง. บังอรสำรอกโอรส

เฉลย
1.ข 2.ง 3.ค 4.ง 5.ข 6.ก 7.ง 8.ค 9.ค 10.ค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น